ถอดรหัส คังดง สัญญะทางชาติพันธุ์กะเหรี่ยง


คังดง สัญลักษณ์แห่งความกลมเกลียว



เมื่อใดเมื่อมีงานบุญหรืองานมงคล ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โผล่งไหม ฝ้าย จะถูกถักทอให้เป็นสี่แปดเหลี่ยม มีความหลากหลายของสีสัน สร้างความสวยงามแก่สายตาผู้มาเยือน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและและอะไรที่ยังทำให้สิ่งเหล่านี้คงอยู่และค่อยๆคืบคลานเข้าสู่ความเป็นเมือง ผ่านพื้นที่ใด วันนี้เราจะพาทุกคนมาสัญญะที่ถูกสร้างไว้เพื่อให้คังดงทำหน้าที่สื่อสารกับมนุษย์




"คังดง"    เป็นสิ่งประดิษฐ์จากไม่ไผ่และฝ้าย ที่ถูกถักร้อยเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีการใช้ฝ้ายหลากหลายสีมาถัก ทุกอย่างที่ประดิษฐ์ขึ้น ล้วนมีความหมาย
ผศ. ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ สาขามานุษยวิทยา วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายไว้ สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากความเชื่อ โดยใช้กฏธรรมชาติเป็นฐานแห่งความคิด การถักทอที่เป็นคดนั้น มาจากกระหม่อมบนหัวมนุษ์ที่มีรูปลักษณะเหมือนก้อนหอย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 37 ขวัญที่กลุ่มชาติพันธุ์เชื่อว่ามีความสำคัญต่อการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์








เมื่อบริบทเปลี่ยน คังดงจึงสร้างความหมายใหม่บนพื้นที่ใหม่กับกิจกรรมทางวัฒนธรรม งานสมัชชาเยาวชนชาติพันธ์ 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 30-31 มีนาคม 2562 ที่อำเภอแม่สอด จ.ตาก คังดงถูกนำมาใช้เป็นพระเอกของงานในการสื่อสารอัตลักษณ์ชาติพันธ์ เพื่อสื่อสารเรื่องความสมมัคคี รวมเป็นหนึ่งเดียว และเป็นพลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่







       ดร.สุวิชาน เล่าต่อว่า การนำมาใช้ในงานครั้งนี้ หมายถึง การแสดงถึงความกลมเกลียวของเยาวชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ปะโอ กลุ่มชาติพันธุ์พม่า กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ที่ เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนชาติพันธุ์ในจังหวัดตาก การได้แสดงออกอย่างภาคภูมิ






     สัญญะที่ถูกใส่ไว้จะสะท้อนวัฒนธรรมของกลุ่มคนนั้น ๆ ซึ่งในประเทศไทยมีสัญญะมากมายให้เราได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะความเข้าใจจะนำไปสู่การดำรงอยู่ร่วมกันภายในสังคมอย่างปกติสุข และเป็นสิ่งที่สังคมปราถนา


เรียบเรียงโดย
 ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี
โพควา​โปรดักชั่น
29 มีนาคม 2562

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#ป่าคือชีวิต ตอน ชีวิต วัว ควาย ในทุ่งลาเวนเดอร์