KLEE BHO ผู้ปลุก TAENAGU ให้ร่วมสมัย
ดนตรี เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ไม่มีกำแพงใด เป็นเรื่องมือสื่อสารสากล ที่สะท้อนถึงความรู้สึก นึกคิด และความเป็นเอกลักษณ์(Identity) ของชนชาตินั้นๆ
ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ 50 กลุ่ม จำนวน 6,097,427 คน ลำดับที่ 1 เขมรถิ่นไทย จำนวน 1,400,000 คน ลำดับที่ 2 มลายู 900,000 คน ลำดับที่ 4 ผู้ไท 470,000 คน ลำดับที่ 4 กะเหรี่ยง 438,131 คน จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด ถึง 16 กลุ่มชาติพันธุ์
(อ้างอิง: The Stand อ้างใน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล)
จากจำนวนประชากรกะเหรี่ยงในประเทศไทย มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถก้าวสู่เส้นทางการเป็นนักดนตรี ศิลปินกะเหรี่ยงที่ใช้ "เตหน่ากู"ในการขับร้องรำทำเพลง ในประเทศไทยมีไม่ถึง 50 คน แต่ทุกคนที่พาตัวเองมาถึงจุดนี้ แน่นอนว่าต้องมาด้วยความรัก ความศรัทธา และความหลงไหล(Passion) เป็นส่วนประกอบสำคัญ
KLEE BHO เป็นหนึ่งในวงดนตรีปกาเกอะญอร่วมสมัย ที่รวมตัวกันกับกุล่มเพื่อน มาทำดนตรีด้วยกัน เป็นดนตรีร่วมสมัย คลี เล่าให้เราฟังถึงที่มาของวงว่า
"คลีโพ เป็นวงดนตรีชาติพันธุ์ร่วมสมัย มีสมาชิกหลักๆ ด้วยกัน 4 คน โดยมีคลี Natthawut Thuraworn เป็นชาวปกเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เล่นเครื่องดนตรีเตหน่ากู เป็นเครื่องดนตรีของชาวปกาเกอะญอ เอก Aekchai Tepraksa เล่นแว็กโซโฟน ดรีม Kitipong Posawas เล่น เบส และจิ๊บ Nakrob NuengKlang เล่นจัมเบ้ บางโอกาสก็มีเป้ Natthapong Napong วงจุลโหฬาลมาช่วยเล่นพิณและแคนอีสาน ทั้ง 4 ได้เล่นด้วยกันมาแล้ว 2 ปี จนตัดสนิใจทำเพลงด้วยกัน เพลงคลีโพได้พูดถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปกาเกอะญอ รวมถึงศิลปวัฒนธรรมที่เล่าผ่านบทกวีเก่าแก่ และยังมีเพลงที่เขียนขึ้นมาใหม่ทั้งในภาษาปกาเกอะญอและภาษาไทย รวมทั้งหมด 8 เพลง ในอัลบั้ม Tales of Taenagu"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น